วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

สุภาษิตและความหมาย(๒)

ผักชีโรยหน้า   
หมายถึง    ทำดีพอพ้นตัว ความดี หรือความสวยที่งาม ลวงตาได้เพียงผิวเผิน
ม้าดีดกระโหลก   
หมายถึง    กริยาที่หญิงเดินไม่สุภาพ
รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา    
หมายถึง   ให้ประพฤติตนดี จะได้ดี
เห็นช้างขี้ ชี้ตามช้าง  
หมายถึง     ทำอย่างผู้อื่นจนเกินกำลังตน
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน   
หมายถึง    ค่อยทำค่อยไปแล้วจะได้ผลดี
พิมเสนแลกเกลือ    
หมายถึง   คนมีเกียรติมีเรื่องราวกับคนเลว จะทำให้เสื่อมเกียรติไปไม่สมค่าสมราคา
ผ้าขี้ริ้วห่อทอง  
หมายถึง     คนแต่งเก่า ๆ ขาด ๆ แต่ร่ำรวยมีทรัพย์
ถ่านไฟเก่า    
หมายถึง   คนที่เคยเป็นคู่รักกันมาก่อน แม้เลิกกันไปเมื่อมาพบใหม่ก็อาจรักกันได้
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้    
หมายถึง    ช้าเกินการ ได้อย่างเสียอย่าง
ไข่ในหิน    
หมายถึง    ของที่ระมัดระวังอย่างมาก


                                                                                                                   

สุภาษิตและความหมาย(๑)

ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง    
หมายถึง    คนเราจะสวยได้ก็ด้วยการรู้จักแต่งตัว
ขว้างงูไม่พ้นคอ    
หมายถึง    ไม่รู้ว่าจะทำอย่าไรดี
คางคกขึ้นวอ    
หมายถึง    คนถ่อยหรือต่ำช้า
จับเสือมือเปล่า   
หมายถึง    การทำงานโดยไม่ได้ลงทุน
จับแพะชนแกะ   
หมายถึง    เอาทางโน้นมาใช้ทางนี้



ชักแม่น้ำทั้งห้า   
หมายถึง    ยกเหตุผลหว่านล้อม
ชุบมือเปิบ   
หมายถึง    ฉวยเอาผลประโยชน์เมื่อคนอื่นทำสำเร็จแล้วโดยมิต้องลงทุน
ตัดหางปล่อยวัด   
หมายถึง    เหลือขอจนต้องปล่อยให้ไปตามเรื่อง
ตักน้ำรดหัวตอ   
หมายถึง    พูดเท่าไหร่ก็ไม่รู้เรื่อง
ถึงพริกถึงขิง    
หมายถึง    เผ็ดร้อน หรือดุเดือด

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

อิศรญาณภาษิต

ความเป็นมา



          อิศรญาณภาษิตเรียกอีกอย่างว่า “เพลงยาวอิศรญาณ” เป็นพระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าอิศรญาณ ซึ่งเล่ากันว่าเป็นผู้มีพระจริตไม่ปกติ ครั้งหนึ่งพระองค์ได้ทำสิ่งวิปริตไปแล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรับริภาษว่าเป็นบ้า ทำให้ใครๆ ก็พากันเห็นด้วยกับพระราชดำรัสนั้น ด้วยความน้อยพระทัยของหม่อมเจ้าอิศรญาณจึงทรงนิพนธ์เพลงยาวฉบับนี้ขึ้น
      มีผู้สันนิษฐานว่าอิศรญาณภาษิตนี้ ไม่ใช่พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าอิศรญาณแต่เพียงผู้เดียว หากแต่ทรงนิพนธ์ไว้เพียงตอนแรกเท่านั้น กล่าวคือ สันนิษฐานว่าทรงนิพนธ์ถึงวรรคว่า “ปุถุชนรักกับชังไม่ยั่งยืน” ซึ่งมีลีลาการแต่งไว้ด้วยน้ำเสียงเหน็บแนมประชดประชันอย่างรุนแรง ชัดเจนส่วนที่เหลือเป็นของผู้อื่นแต่งต่อ โดยเป็นการสอนเรื่องทั่วๆ ไป มีลีลาหรือท่วงทำนองแบบเรียบๆ มุ่งสั่งสอนตามปกติของผู้มีประสบการณ์ในเรื่องต่างๆ ซึง่งได้นำมาเรียบเรียงไว้ทั้งหมด

ประวัติผู้แต่ง

          


         หม่อมเจ้าอิศรญาณ(ไม่ทราบพระนามเดิม)เป็นโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ พระองค์ทรงผนวชที่วัดบวรนิเวศ ได้พระนามฉายาว่า อิสสรญาโณ มีพระชนม์ชีพอยู่ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



ลักษณะคำประพันธ์



 กลอนเพลงยาว ซึ่งขึ้นต้นด้วยวรรคสดับ(มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเพลงยาวอิศรญาณหรือภาษิตอิศรญาณ)

จุดประสงค์

๑. เพื่อสั่งสอน
๒. เพื่อเตือนใจให้คิดก่อนที่จะทำสิ่งใด
๓. สอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นในสังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

เนื้อเรื่อง

          อิศรญาณภาษิตมีเนื้อหาที่เป็นคำสั่งสอนแบบเตือนสติ และแนะนำเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติให้เป็นที่พอใจของผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจมากกว่า สอนว่าควรจะทำอย่างไรจึงจะอยู่ในสังคมได้โดยปราศจากภัยแก่ตน ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จสมหวังบางตอนก็เน้นเรื่องการเห็นคุณค่าและความสำคัญของผู้อื่นโดยไม่สบประมาทหรือดูแคลนกัน โดยทั้งนี้การสอนบางครั้งอาจเป็นการบอกตรงๆ หรือบางครั้งก็สอนโดยคำประชดประชันเหน็บแนม เนื้อหาส่วนใหญ่จะสั่งสอนให้คนมีปัญญา ไม่หลงใหลกับคำเยินยอ สอนให้รู้จักคิดไตร่ตรองก่อนพูด รู้จักเคารพผู้อาวุโส รู้จักทำตามที่ผู้ใหญ่แนะนำรู้จักกตัญญูผู้ใหญ่

คุณค่างานประพันธ์

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ใช้ถ้อยคำง่าย ๆ มาเรียงร้อยได้เหมาะเจาะและมีความหมายลึกซึ้ง
คุณค่าด้านสังคม ให้ข้อคิดในการดำเนินชีวิตเพื่อดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


 ผู้จัดทำ

ด.ช.นิธิวัศ เตียวมณี ม.๓/๓ เลขที่ ๓
น.ส.ณัฐวรา ต่ายสกุลทิพย์ ม.๓/๓ เลขที่ ๙
ด.ญ.ณิชกานต์ บุตรประดิษฐ์ ม.๓/๓ เลขที่ ๑๐

โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง
ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕